วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เผยแพร่ผลงาน ครูสุรีย์ สุคนธ์วารี ร.ร.วัดสวนแตง สพท.สพ.เขต 1

ชื่อเรื่อง รายงานการใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) เรื่องรำวงมาตรฐาน และความพึงพอใจในการเรียนสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสวนแตง

ชื่อผู้ศึกษา นางสุรีย์ สุคนธ์วารี
ปี พ.ศ. 2552
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนขณะใช้สื่อวีดิทัศน์ และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์)เรื่องรำวงมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2552 – 31 สิงหาคม 2552 จำนวน 15 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อวีดิทัศน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากสื่อวีดิทัศน์ และแบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติ t – test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) เรื่องรำวงมาตรฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.99/87.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) เรื่องรำวงมาตรฐาน หลังสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3.
นักเรียนแสดงพฤติกรรมระหว่างใช้สื่อวีดิทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) เรื่องรำวงมาตรฐานทุกบทเรียน มีพฤติกรรมเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์นาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.53

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คุณครูชรินทร์ สุคนธ์วารี ร.ร.วัดสวนแตง สพท.สพ.เขต 1

ชื่อเรื่อง
รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนวัดสวนแตง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1

ผู้รายงาน นายชรินทร์ สุคนธ์วารี

บทคัดย่อ

รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1)เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ การแก้โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนวัดสวนแตง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2552 3)เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 4 ประเภท ดังนี้ 1)แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 ชุด 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการหาร ซึ่งเป็นแบบปรนัย จำนวน 1 ฉบับ มี 30 ข้อ 3) แบบประเมินแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำหรับผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับองค์ประกอบของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา ใช้ตัวแปรเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ ดีมาก ดี ปานกลาง พอใช้ และ ควรแก้ไข 4)แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Likert’s – Scale) 3 ระดับ จำนวน 12 ข้อ ลักษณะของแบบประเมิน เป็นแบบ Likert’s – Scale ให้คะแนน 1 – 3 คะแนน
ผลการศึกษาพบว่า
1. การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.1 ผลการสร้างแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร จำนวน 3 ชุด พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ให้ความคิดเห็นว่า แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 และชุดที่ 3 มีความเหมาะสมดีมาก 4.46
1.2 ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการหาร ทั้ง 3 ชุด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.730/80.78 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/88
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ การแก้โจทย์ปัญหาการหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน 14.67 หลังเรียน 23.67 มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 2.79

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

ในปัจจุบันการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศนั้นมีความสำคัญและมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่างทั้งทางสภาพสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความต้องการในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งนโยบายภาครัฐและการแข่งขันกับอารยประเทศซึ่งมีสูง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ ซึงในปัจจุบันท่านจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้ความรู้นั้นล้าสมัยอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ต้องใช้เวลาในการเรียนสั้นลง อีกทั้งมีการแข่งขันทางเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ ๆ ทุกวัน ดังนั้นจึงต้องมีการแนะนำเทคนิคเครื่องมือใหม่ ๆ ในองค์กร และการต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานนั้น จำเป็นต้องมีการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อน ง่ายต่อการปฏิบัติ และผลงานที่ได้ต้องมีความถูกต้องเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ผลงานออกมาอย่างดีที่สุดเพื่อแข่งขันกับอารยะประเทศได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นนวัตกรรมและสารสนเทศจึงได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวเราจึงควรที่จะศึกษาเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ โดยในบทความนี้ขอเสนอหัวข้อหลัก ๆ เกี่ยวกับนวัตกรรมและสารสนเทศ ดังนี้


บทที่ 1 ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมและสารสนเทศ

บทที่ 2 บทบาทของสารสนเทศในการบริหารองค์กรทางการศึกษา

บทที่ 3 นวัตกรรมทางการศึกษาและการบริหารการศึกษา

บทที่ 4 การสื่อสารและระบบเครือข่าย

บทที่ 5 นวัตกรรมกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ

บทที่ 6 การบริหารระบบสารสนเทศในองค์กร







**บันทึกความทรงจำในสิบสองปันนา**

ภาพบน > > สีหน้าแห่งความสุข ^-^ .....^-^......ภาพล่าง > > >สีสันแห่งความอร่อย

บันทึกการเดินทาง ย่ำแดนลาวใต้ (ปักเซ)